วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

การแยกประเภทธาตุ

การแยกประเภทธาตุในตารางธุาตุ

กลุ่มโลหะแอลคาไลน์ (Alkali Metal)                       

Li ลิเทียม Lithium
Na โซเดียม Sodium
K โพแทสเซียม Potassium
Rb รูบิเดียม Rubidium
Cs ซิเซียม Cesium
Fr แฟรนเซียม Franciumก

กลุ่มก๊าซมีตระกูล (Noble Gas)
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
He ฮีเลียม Helium
Ne นีออน Neon
Ar อาร์กอน Argon
Kr คริปทอน Krypton
Xe ซีนอน Xenon
Rn เรดอน Radon


กลุ่มธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) 
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
B โบรอน Boron
Si ซีลีคอน Silicon
Ge เจอร์เมเนียม Germanium
As สารหนู Arsenic
Sb พลวง Antimony
Te เทลลูเรียม Tellurium
Po พอโลเนียม Polonium


กลุ่มโลหะหลังทรานซิชั่น
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
Al อะลูมิเนียม Aluminum
Ga แกลเลียม Gallium
In อินเดียม Indium
Sn ดีบุก Tin
Tl แทลเลียม Thallium
Pb ตะกั่ว Lead
Bi บิสมัท Bismuth


กลุ่มโลหะทรานซิชั่น (Transition Elements)
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
Sc สแกนเดียม Scandium
Ti ไทเทเนียม Titanium
V วาเนเดียม Vanadium
Cr โครเมียม Chromium
Mn แมงกานีส Manganese
Fe เหล็ก Iron
Co โคบอลท์ Cobalt
Ni นิเกิล Nickel
Cu ทองแดง Copper
Zn สังกะสี Zinc
Y อิตเทรียม Yttrium
Zr เซอร์โคเนียม Zirconium
Nb ไนโอเบียม Niobium
Mo โมลิบดีนัม Molybdenum
Tc เทคนิเซียม Technetium
Ru รูทีเนียม Ruthenium
Rh โรเดียม Rhodium
Pd แพลเลเดียม Palladium
Ag เงิน Silver
Cd แคดเมียม Cadmium
Hf แฮฟเนียม Hafnium
Ta แทนทาลัม Tantalum
W ทันสเตน Tungsten
Re ริเนียม Rhenium
Os ออสเมียม Osmium
Ir อิริเดียม Iridium
Pt แพลทินัม Platinum
Au ทองคำ Gold
Hg ปรอท Mercury


กลุ่มแอ็กทิไนด์ (Actinide)
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
Ac แอกทิเนียม Actinium
Th ทอเรียม Thorium
Pa โพรแทกทิเนียม Protactinium
U ยูเรเนียม Uranium
Np เนปทูเนียม Neptunium
Pu พลูโตเนียม Plutonium
Am อเมริเซียม Americium
Cm คูเรียม Curium
Bk เบอร์คีเลียม Berkelium
Cf แคลิฟอร์เนียม Californium
Es ไอน์สเตเนียม Einsteinium
Fm เฟอร์เมียม Fermium
Md เมนเดลิเวียม Mendelevium
No โนโบเลียม Nobelium
Lr ลอว์เรนเซียม Lawrencium



กลุ่มแลนทาไนด (Lanthanide)

ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
La แลนทานัม Lanthanum
Ce ซีเรียม Cerium
Pr เพรซิโอดีเมียม Praseodymium
Nd นิโอดิเมียม Neodymium
Pm โพรมีเทียม Promethium
Sm ซาแมเรียม Samarium
Eu ยูโรเพียม Europium
Gd แกโดลิเนียม Gadolinium
Tb เทอร์เบียม Terbium
Dy ดิสโพรเซียม Dysprosium
Ho โฮลเมียม Holmium
Er เออร์เบียม Erbium
Tm ทูเลียม Thulium
Yb อิตเทอร์เบียม Ytterbium
Lu ลูทิเทียม Lutetium



กลุ่มแฮโลเจน (Halogens)
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

F ฟลูออรีน Fluorine
Cl คลอรีน Chlorine
Br โบรมีน Bromine

I ไอโอดีน Iodine
At แอสทาทีน Astatine

กลุ่มอโลหะ (Non-Metals)
ตัวย่อ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
H ไฮโดรเจน Hydrogen
C คาร์บอน Carbon
N ไนโตรเจน Nitrogen
O ออกซิเจน Oxygen
P ฟอสฟอรัส Phosphorus
S กำมะถัน Sulfur
Se ซิลิเนียม Selenium

รูปภาพ




 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตารางธาตุพร้อมคําอ่าน

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง
แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ
    การจัดเรียงอิเล็กตรอน ารจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถจัดธาตุในตารางธาตุได้ เพราะจากซ้ายไปขวาตามคาบ อิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอน (วงที่ 1 วงที่ 2 และอื่น ๆ) แต่ละวงก็ประกอบไปด้วยวงย่อยหนึ่งวงหรือมากกว่านั้น (มีชื่อว่า s p d f และ g) เมื่อเลขอะตอมของธาตุมากขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงย่อยตามกฎของแมนเดลัง เช่นการจัดเรียงอิเล็กตรอนขอนีออน คือ 1s2 2s2 2p6 ด้วยเลขอะตอมเท่ากับ 10 นีออนมีอิเล็กตรอน 2 ตัวในวงอิเล็กตรอนแรก และมีอิเล็กตรอนอีก 8 ตัวในวงอิเล็กตรอนที่สอง โดยแบ่งเป็นในวงย่อย s 2 ตัวและในวงย่อย p 6 ตัว ในส่วนของตารางธาตุ เมื่ออิเล็กตรอนตัวหนึ่งไม่สามารถไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนที่สองได้แล้ว มันก็จะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนใหม่ และธาตุนั้นก็จะถูกจัดให้อยู่ในคาบถัดไป ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้เป็นธาตุไฮโดรเจน และธาตุในหมู่โลหะแอลคาไล
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน  สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นพลังงานที่คายออกมาหรือดูดกลืน เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมไปเป็นไอออนประจุลบ ธาตุส่วนใหญ่คายพลังงานความร้อนเมื่อรับอิเล็กตรอน โดยทั่วไป อโลหะจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าโลหะ คลอรีนมีแนวโน้มในการเกิดไอออนประจุลบสูงที่สุด สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลยังไม่สามารถหาค่าได้ ดังนั้น พวกมันอาจจะไม่มีประจุลบ
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามคาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมเต็มวงเวเลนซ์ของอะตอม อะตอมของธาตุหมู่ 17จะคายพลังงานออกมามากกว่าอะตอมของธาตุหมู่ 1 ในการดึงดูดอิเล็กตรอน เนื่องด้วยความง่ายในการเติมเต็มวงวาเลนซ์และความเสถียร
ในหมู่ของธาตุ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนคาดว่าจะลดลงจากบนลงล่าง เนื่องด้วยอิเล็กตรอนตัวใหม่จะต้องเข้าไปในออร์บิทัลที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ด้วยความที่อิเล็กตรอนเชื่อมของนิวเคลียสน้อยอยู่แล้ว จึงทำให้มันปล่อยพลังงานไม่มาก ถึงกระนั้น ในหมู่ของธาตุ ธาตุสามตัวแรกจะผิดปกติ ธาตุที่หนักกว่าจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าธาตุที่เบากว่า และในวงย่อย d และ f สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะไม่ได้ลดลงตามหมู่ไปเสียทั้งหมด ดังนั้นการที่สัมพรรคภาพลดลงตามหมู่จากบนลงล่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ในอะตอมของธาตุหมู่ 1 เท่านั้น